ย้อนรอยภาพยนตร์ไทย เซอร์เรียลลิสม์ "หมานคร" Citizen Dog 2547
กราบสวัสดีทุกท่านที่ได้ติดตามและอ่านบทความของผมครับ... ใกล้จะถึงเดือนธันวาคมแล้ว กรุงเทพตอนนี้ยังไม่ได้สัมผัสกับอากาศหนาวเลย เมื่ออาทิตย์ก่อนผมรู้สึกอยากหาแรงบันดาลใจเพื่อประกอบการทำงานเกี่ยวกับ Surrealism สิ่งแรกที่ทำคือการหาภาพยนตร์เก่าๆดู มีภาพยนตร์ไทยที่น่าสนใจอยู่เรื่องนึงคือ เรื่อง หมานคร เนื่องจากในช่วงนี้ตัวหนังออกฉายผมเองก็ยังไม่รู้เรื่อง อาจจะเคยดูแต่คงดูไม่รู้เรื่อง ผมเชื่อว่าคนไทยเกินครึ่งประเทศรู้สึก งง กับหนังมาก และไม่เข้าใจ รายได้ของหนังเองก็ไม่ประสบความสำเร็จในตอนนั้น แต่เมื่อไม่นานนี้ในแฟนเพจหนังได้รีวิวหนังเรื่องนี้ ผมก็ได้กลับมาเปิดดูอีกครั้งนึง โดยผมในอดีตที่เคยดูหนังเรื่องนี้ ในปี 2547 ยังไม่เข้าใจและไม่สามารถตีความหนังเรื่องนี้ได้เลย พูดง่ายๆคือ งง ทั้งเรื่อง แต่พอกลับมาดูในปีนี้ 2015 ผมได้เริ่มเข้ามาในวงการศิลปะ ผมเสพงานศิลปะมาตลอด ดูหนังอาร์ตมาตลอด (Art Film) พอโตขึ้นประสบการณ์ก็มากขึ้น
เมื่อได้ดูจนจบก็ทำให้รู้สึกชื่นชอบมากๆ เต็ม 10 ผมให้ 10 ถึงแม้จะมีความเรียบง่ายและความซื่อในตัวพลอต และดูธรรมดาๆ แต่สอดแทรกเรื่องราว และเสียดสีสังคมไทยในเมืองกรุงได้อย่างน่าขบขันมากๆ เป็นอีกเรื่องที่แปลกหนังทำออกมาสิบกว่าปีแล้ว แต่ทำไมผมยังรู้สึกว่ากรุงเทพมหานคร มันยังคงเป็นแบบในหนังทุกอย่าง และที่สำคัญความเป็น Magical Realism ของหนังและเรื่อง Art Direction ทำให้เราซึบซับและหยุดเราให้อยู่กับหนังได้มากๆ
แต่ป๊อดเข้ามาในเมืองกรุงกลับไม่มีหางแบบที่ยายได้บอกเอาไว้ จิน(นางเอก) จึงได้อธิบายให้ป๊อดฟังว่าทำไมป๊อดถึงไม่มีหาง คนธรรมดาอย่าง ป๊อดกับจินหรือผู้คนที่เดินไปมา ที่ไม่มีชื่อเสียงเงินทอง ก็ไม่มีหางเช่นกัน ต้นเหตุของความต้องการอยากจะมีหาง นั่นก็คือความฝัน ผมว่ามันเชื่อมโยงกัน โดยนำ ตัวละครอย่าง ป๊อด กับ จิน มาเปรียบเทียบกัน ป๊อดเป็นคนไม่มีความฝัน แต่จินเต็มไปด้วยความฝันมีเป้าหมาย และสื่ออย่างละคร คือตัวที่ช่วยฉุดดึงความฝันของทุกคนให้ดำเนินต่อไป เฉกเช่น จิน
เมื่อป๊อดได้พบกับจิน ป๊อดก็ตกหลุมรัก และหลงไหลไปกับพฤติกรรมแปลกๆของจินหลายๆอย่าง จินกลายเป็นคนนึงที่ป๊อดพยายามทำทุกอย่างให้ด้วยความรักจริงๆ แต่ความฝันของจินนั่นแหละ คือสิ่งที่ทำให้จินต้องออกห่างจากป๊อด ป๊อดกลายเป็นแค่ชายที่อกหัก และคอยวิ่งตามหาจินอยู่ตลอดเวลา
จิน เป็นอีกตัวละครนึงที่ผมว่ามันอเมซิ่งมากๆ เป็นตัวแทนของ ผู้หญิงที่มาใช้ชีวิตในเมืองหลวง ผู้หญิงผู้ที่มีความฝันและความทะเยอทะยานที่หนักแน่น เพียงแค่หนังสือเล่มเดียว ที่ตกลงมาจากฟ้า แต่จินอ่านมันไม่ออก และได้เดินทางมายังเมืองกรุง เพื่อค้นหาว่าหนังสือเล่มนี้มันจะบอกอะไรจิน เป็นเครื่องมือหนึ่งที่พยุงจินให้วิ่งไปตามความฝัน ผมว่าผู้คนสมัยนี้ก็เป็นแบบนี้แหละครับ ผมเองก็มีความฝัน ตัวเราเองมองว่ามันยิ่งใหญ่สำหรับเราเสมอ เพียงแค่ทางกายภาพแล้วมันอาจจะดูเล็กๆเหมือนหนังสือเล่มนึงของจิน
นอกเหนือจากเรื่อง ความฝัน ที่เป็นต้นเหตุสำคัญลึกๆของผู้คนท่ามกลางเมืองใหญ่ ยังมีฉากและตัวละครอื่นๆที่น่าสนใจ และตลกร้ายอีกมาก
และสุดท้าย ป๊อด เมื่อผิดหวังจากจิน ก็ตัดสินใจกลับบ้านเกิดตัวเอง และทุกอย่างที่บ้านของเขามันช้าไปหมดทุกอย่าง เพราะนาฬิกาที่กรุงเทพ มันเดินเร็วกว่าบ้านนอกมาก และป๊อดก็ได้ตัดสินใจเดินทางกลับกรุงเทพ เพราะเขาทนไม่ไหวที่ต้องอยู่ห่างกับจิน
ผมเองก็เป็นคนบ้านนอกครับ เมื่อมาอยู่กรุงเทพนานๆและเมื่อกลับบ้านผมรู้สึกเลยว่า ทุกอย่างที่บ้านมันเดินช้ามากๆ มันช่างแตกต่างกันเหลือเกิน
พอป๊อดตัดสินใจกลับไปยังกรุงเทพมหานคร กรุงเทพก็เปลี่ยนไปมาก (เพราะกรุงเทพอะไรๆมันก็เร็ว) การมีหางไม่ใช่เรื่องแปลก ใครๆก็มีหาง กลับกันจากเดิม กลายเป็นทุกคนไม่อยากมีหางและพยายามจะเอามันออก
ดั่งที่จินพยายามตามหาบางสิ่ง สิ่งที่ดีกว่า เป้าหมายที่อยู่ไกล สุดท้ายแล้วจินได้มาแต่ความรู้สึกผิดหวัง หมดหวัง จนจินก็พบว่าความรู้สึกนั้น มันอยู่ใกล้ๆจินแค่นี้เอง มันคือ ป๊อด
โลกมันมีอะไรหลายอย่างเกิดขึ้นครับ ในเมืองกรุง ชีวิตจริงมันโหดร้าย ผมว่าความรัก ความหวัง ความฝันเป็นสิ่งเดียวที่เรามีได้ มันจะช่วยพยุงให้เรามีชีวิตที่ดีได้ต่อไป
ผมเองยังไม่เคยได้อ่านนิยาย 'คอยนุช' ที่เป็นต้นฉบับของหนังเรื่องนี้ แต่ก็รู้สึกชอบจากใจจริง และผมจะรู้สึกมีความสุขมากๆ หากภาพยนตร์ไทย จะมีหนังแบบนี้ออกมาให้ชมอีกเรื่อยๆ มากขึ้น
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่าน
พบกันใหม่โอกาสหน้า ...
สวัสดีครับ
ปารเมศ กลิ่นพยอม
เมื่อได้ดูจนจบก็ทำให้รู้สึกชื่นชอบมากๆ เต็ม 10 ผมให้ 10 ถึงแม้จะมีความเรียบง่ายและความซื่อในตัวพลอต และดูธรรมดาๆ แต่สอดแทรกเรื่องราว และเสียดสีสังคมไทยในเมืองกรุงได้อย่างน่าขบขันมากๆ เป็นอีกเรื่องที่แปลกหนังทำออกมาสิบกว่าปีแล้ว แต่ทำไมผมยังรู้สึกว่ากรุงเทพมหานคร มันยังคงเป็นแบบในหนังทุกอย่าง และที่สำคัญความเป็น Magical Realism ของหนังและเรื่อง Art Direction ทำให้เราซึบซับและหยุดเราให้อยู่กับหนังได้มากๆ
"ไอ้ป๊อด..จำคำยายไว้ให้ดีนะ...วันไหนเอ็งได้ทำงานที่กรุงเทพ...วันรุ่งขึ้น..เอ็งตื่นขึ้นมาแล้ว เอ็งจะมี...หาง งอกออกมาจากก้น"ประโยคเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด ก่อนที่ป๊อด พระเอกของเรื่องจะเดินทางไปทำงานที่ กรุงเทพมหานคร ทำไม? หนังถึงนำ หาง มาเป็นสัญลักษณ์ ผมว่านี่เป็น Sense ง่ายๆเลย สิ่งแรกที่ผมนึกถึง หาง ของคนเมือง ก็คือ ทุกคนล้วนมีความฝัน มันเป็นเส้นบางๆมาก ระหว่างความฝันกับความทะเยอทะยานอยากมีอยากได้และอยากจะเป็น อยากจะเป็นอะไร?
ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่อยากจะมีชีวิตที่ดี อยากเป็นดารา อยากเป็นนักร้อง อยากเป็นคนรวย อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น มันเป็นความใฝ่ฝันลึกๆที่อยู่ลึกลงไปในจิตสำนึกของคนเมือง ที่ต้องใช้ชีวิตน่าเบื่อในเมืองกรุง เมื่อคนที่มีหาง ในหนังหมายความว่าคนที่พิเศษ คนรวย คนที่มีชื่อเสียงเงินทอง
แต่ป๊อดเข้ามาในเมืองกรุงกลับไม่มีหางแบบที่ยายได้บอกเอาไว้ จิน(นางเอก) จึงได้อธิบายให้ป๊อดฟังว่าทำไมป๊อดถึงไม่มีหาง คนธรรมดาอย่าง ป๊อดกับจินหรือผู้คนที่เดินไปมา ที่ไม่มีชื่อเสียงเงินทอง ก็ไม่มีหางเช่นกัน ต้นเหตุของความต้องการอยากจะมีหาง นั่นก็คือความฝัน ผมว่ามันเชื่อมโยงกัน โดยนำ ตัวละครอย่าง ป๊อด กับ จิน มาเปรียบเทียบกัน ป๊อดเป็นคนไม่มีความฝัน แต่จินเต็มไปด้วยความฝันมีเป้าหมาย และสื่ออย่างละคร คือตัวที่ช่วยฉุดดึงความฝันของทุกคนให้ดำเนินต่อไป เฉกเช่น จิน
เมื่อป๊อดได้พบกับจิน ป๊อดก็ตกหลุมรัก และหลงไหลไปกับพฤติกรรมแปลกๆของจินหลายๆอย่าง จินกลายเป็นคนนึงที่ป๊อดพยายามทำทุกอย่างให้ด้วยความรักจริงๆ แต่ความฝันของจินนั่นแหละ คือสิ่งที่ทำให้จินต้องออกห่างจากป๊อด ป๊อดกลายเป็นแค่ชายที่อกหัก และคอยวิ่งตามหาจินอยู่ตลอดเวลา
จิน เป็นอีกตัวละครนึงที่ผมว่ามันอเมซิ่งมากๆ เป็นตัวแทนของ ผู้หญิงที่มาใช้ชีวิตในเมืองหลวง ผู้หญิงผู้ที่มีความฝันและความทะเยอทะยานที่หนักแน่น เพียงแค่หนังสือเล่มเดียว ที่ตกลงมาจากฟ้า แต่จินอ่านมันไม่ออก และได้เดินทางมายังเมืองกรุง เพื่อค้นหาว่าหนังสือเล่มนี้มันจะบอกอะไรจิน เป็นเครื่องมือหนึ่งที่พยุงจินให้วิ่งไปตามความฝัน ผมว่าผู้คนสมัยนี้ก็เป็นแบบนี้แหละครับ ผมเองก็มีความฝัน ตัวเราเองมองว่ามันยิ่งใหญ่สำหรับเราเสมอ เพียงแค่ทางกายภาพแล้วมันอาจจะดูเล็กๆเหมือนหนังสือเล่มนึงของจิน
นอกเหนือจากเรื่อง ความฝัน ที่เป็นต้นเหตุสำคัญลึกๆของผู้คนท่ามกลางเมืองใหญ่ ยังมีฉากและตัวละครอื่นๆที่น่าสนใจ และตลกร้ายอีกมาก
"ชิดในกันจนจะเป็นผัวเมียกันอยู่แล้วโว้ย!" "รีบไปหาพ่อมึงรึไงวะ?!"มีประโยคที่ทำให้ผมกลั้นขำไว้ไม่อยู่ แทรกอยู่ในแต่ละฉากในหนัง โดยการนำประโยคพวกนี้มาล้อเลียน
และสุดท้าย ป๊อด เมื่อผิดหวังจากจิน ก็ตัดสินใจกลับบ้านเกิดตัวเอง และทุกอย่างที่บ้านของเขามันช้าไปหมดทุกอย่าง เพราะนาฬิกาที่กรุงเทพ มันเดินเร็วกว่าบ้านนอกมาก และป๊อดก็ได้ตัดสินใจเดินทางกลับกรุงเทพ เพราะเขาทนไม่ไหวที่ต้องอยู่ห่างกับจิน
ผมเองก็เป็นคนบ้านนอกครับ เมื่อมาอยู่กรุงเทพนานๆและเมื่อกลับบ้านผมรู้สึกเลยว่า ทุกอย่างที่บ้านมันเดินช้ามากๆ มันช่างแตกต่างกันเหลือเกิน
พอป๊อดตัดสินใจกลับไปยังกรุงเทพมหานคร กรุงเทพก็เปลี่ยนไปมาก (เพราะกรุงเทพอะไรๆมันก็เร็ว) การมีหางไม่ใช่เรื่องแปลก ใครๆก็มีหาง กลับกันจากเดิม กลายเป็นทุกคนไม่อยากมีหางและพยายามจะเอามันออก
ตรงนี้เหมือนดั่งปัจจุบัน ที่ทุกคนมีเงิน สร้างชื่อเสียง สร้างยศ ให้กับตนเองได้ง่าย ทุกคนเข้าถึงได้ ทุกคนมีรถขับ ทุกคนได้ทำตามฝัน โดยระบบสังคมนิยมได้ตอบโจทย์พวกเราในยุคนี้ ฉะนั้น ความเป็นเมืองได้ครอบงำทุกคนไปแล้วแต่ป๊อด เป็นคนเดียวในกรุงเทพที่ไม่มี หาง ป๊อดจึงกลายเป็นคนดัง และมีแต่คนเข้าหา
"จิน...โลกนี้มีเรื่องร้ายๆมากเกินไป มีเรื่องเศร้าๆมากเกินไป มากจนทำให้เรา ไม่เห็นเรื่องดีๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต" ป๊อดกล่าว
ดั่งที่จินพยายามตามหาบางสิ่ง สิ่งที่ดีกว่า เป้าหมายที่อยู่ไกล สุดท้ายแล้วจินได้มาแต่ความรู้สึกผิดหวัง หมดหวัง จนจินก็พบว่าความรู้สึกนั้น มันอยู่ใกล้ๆจินแค่นี้เอง มันคือ ป๊อด
โลกมันมีอะไรหลายอย่างเกิดขึ้นครับ ในเมืองกรุง ชีวิตจริงมันโหดร้าย ผมว่าความรัก ความหวัง ความฝันเป็นสิ่งเดียวที่เรามีได้ มันจะช่วยพยุงให้เรามีชีวิตที่ดีได้ต่อไป
ผมเองยังไม่เคยได้อ่านนิยาย 'คอยนุช' ที่เป็นต้นฉบับของหนังเรื่องนี้ แต่ก็รู้สึกชอบจากใจจริง และผมจะรู้สึกมีความสุขมากๆ หากภาพยนตร์ไทย จะมีหนังแบบนี้ออกมาให้ชมอีกเรื่อยๆ มากขึ้น
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่าน
พบกันใหม่โอกาสหน้า ...
สวัสดีครับ
ปารเมศ กลิ่นพยอม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น